วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

แบบทดสอบความรู้ก่อนเรียน เรื่อง สมบัติของของแข็ง


แบบทดสอบความรู้ก่อนเรียน เรื่อง สมบัติของของแข็ง แบบทดสอบโดยครูทองครูไทยหัวใจพอเพียง
1. ความหมายของสสารคือข้อใด
สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่ สมผัสได้
สิ่งที่คาดเดาได้ยาก
สิ่งที่ใช้ในการศึกษาวิทยาศาสตร์
ถูกทุกข้อ
2. ข้อใด ไม่ใช่ สถานะของของสารในสภาวะปกติ
Sorid
Liquids
Gas
Plasma
3. สารที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมาก ทำให้อนุภาคเรียงชิดติดกัน เป็นลักษณะของข้อใด
ของแข็ง
ของเหลว
แก๊ส
พลาสมา
4. เหตุใด ของแข็งจึงเปลี่ยนรูปได้ยาก
มีลักษณะเฉพาะที่ต้านทานการเสียรูปทรง
มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตรในตัวเอง
การจัดเรียงของอนุภาคภายในเรียงชิดติดกัน
ถูกทุกข้อ
5. ข้อใด ไม่ใช่ สมบัติของของแข็ง
ปริมาตรคงที่ไม่ขึ้นอยู่กับภาชนะ
รูปร่างคงที่ไม่ขึ้นอยู่กับภาชนะ
อนุภาคเรียงชิดติดกัน
สามารถระเหยได้
6. การจัดเรียงตัวของอะตอมในรูปของโมเลกุลได้หลายรูปแบบ เรานิยมเรียกว่า
อัตภาพ
อัตลักษณํ
อัญลักษณ์
อัญรูป
7. อัญรูปของฟอสฟอรัสมี 3 ลักษณะ ข้อใดไม่ใช่คำตอบ
ฟอสฟอรัสแดง
ฟอสฟอรัสดำ
ฟอสฟอรัสเขียว
ฟอสฟอรัสขาว
8. การเรียงตัวของอะตอม ไอออน โมเลกุลอย่างเป็นระเบียบในสามมิติ เรียกว่าอะไร
สสาร
ผลึก
โมเลกุล
แทมเพลต
9. สิ่งใดที่มีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนสถานะของของแข็งในรูปแบบการหลอมเหลว
อากาศ
ความร้อน
ภาชนะ
ความชื้น
10. การระเหิดจะเกิดขึ้นกับของแข็งที่มีลักษณะเช่นใด
สารที่ไม่มีขั้วหรือมีขั้วน้อยมาก
มีแรงยึดเหนี่ยวแบบแรงวันเดอร์วาลส์อย่างอ่อน
สารทีมีมวลสูงมาก
ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

สารและสถานะของสาร



สารและสถานะของสาร

สาร หรือ สสาร หมายถึง สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่และสัมผัสได้ เช่น ทองคำ น้ำ และอากาศ
สมบัติของสาร หมายถึง สมบัติประจำตัวของสาร มีทั้งสมบัติทางกายภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับลักษณะภายนอกที่สังเกตได้ง่าย เช่น รูปร่าง สี กลิ่น สถานะ การละลาย จุดเดือด ฯลฯ และ สมบัติทางเคมี ซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี เช่น การเผาไหม้ ฯลฯ
สารต่าง ๆ ที่พบเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ มีจำนวนมากมาย สารต่างชนิดกันจะมีสมบัติส่วนใหญ่แตกต่างกัน เช่น มีสถานะ รูปร่าง สี กลิ่น ฯลฯ แตกต่างกัน
สถานะของสาร
          โดยทั่วไป สารแบ่งออกเป็น สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
              ของแข็ง หมายถึง สารที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมาก ทำให้อนุภาคอยู่ใกล้ชิดกัน ดังนั้นจึงมีรูปร่างและปริมาตรของมันเอง โดยไม่เปลี่ยนไปตามรูปร่างของภาชนะที่บรรจุ เช่น เหล็ก เกลือแกง และด่างทับทิม เป็นต้น
             ของเหลว หมายถึง สารที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยกว่าของแข็ง ทำให้อนุภาคไม่ได้อยู่ชิดกันอย่างของแข็ง จึงมีปริมาตรที่แน่นอน แต่มีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของภาชนะที่บรรจุ เช่น น้ำ เบนซิน และปรอท เป็นต้น
             ก๊าซ หมายถึง สารที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมาก ทำให้อนุภาคฟุ้งกระจายจนเต็มภาชนะที่บรรจุตลอดเวลา ดังนั้นก๊าซจึงมีปริมาตรและรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของภาชนะที่บรรจุ เช่น ก๊าซนีออน ก๊าซออกซิเจน และก๊าซคลอรีน เป็นต้น
          ที่อุณหภูมิห้อง สารต่าง ๆ อาจจะมีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของสารนั้น ๆ สารต่างชนิดกันอาจมีสถานะต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้ โดยทั่วไปสถานะของสารจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และความดัน สามารถทำให้สารต่าง ๆ มีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซได้โดยใช้อุณหภูมิและความดันที่เหมาะสม เช่น ถ้าใช้อุณหภูมิสูง ๆ และความดันต่ำ ๆ สารมักจะอยู่ในสถานะก๊าซ แต่ถ้าใช้อุณหภูมิต่ำ ๆ และความดันสูง ๆ สารมักจะอยู่ในสถานะของเหลว และของแข็ง


ภาพแสดงสถานะของสารและการเปลี่ยนแปลง
ที่มา http://www.nakhamwit.ac.th/pingpong_web/State&Changing.htm




กิจกรรมระหว่างเรียน เรื่องที่ 1
สารและสถานะของสาร


คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาตอนที่ 1 สารและสถานะของสาร แล้วบันทึกสาระสำคัญในประเด็นต่อไปนี้
1) สมบัติของสาร หมายถึง
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................


2) ของแข็ง หมายถึง
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................

สมบัติของของแข็ง


ของแข็ง (solid) เป็นสถานะของ สสาร ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่สามารถทนและต้านทานต่อการเสียรูปทรง และการเปลี่ยนแปลงในปริมาตรของตัวมันเอง มีการจัดเรียงตัวของอนุภาคองค์ประกอบใกล้ชิดกัน แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมีค่ามาก อนุภาคของแข็งจึงเคลื่อนที่ไม่ได้ แต่จะสั่นไปมาได้เล็กน้อย เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างโมเลกุลน้อยมาก ของแข็งจึงไหลไม่ได้เหมือนของเหลว และอัดไม่ได้เหมือนแก๊ส ของแข็งส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นผลึก (crystalline) มีการจัดเรียง มีรูปทรงเรขาคณิตที่แน่นอน หลายแบบที่ระดับจุลภาค (microscopic scale) ของแข็งมีคุณสมบัติดังนี้:  อะตอม หรือ โมเลกุล ที่ประกอบกันเป็นของแข็งจะอัดกันแน่น  องค์ประกอบของธาตุเหล่านี้จะมี ตำแหน่ง อยู่กับที่ (space) และยึดเกาะซึ่งกันและกันทำให้ของแข็งมีความแข็ง  ถ้ามีแรงที่พอเพียงมากระทำคุณสมบัติเหล่านี้ของมันจะถูกทำลาย และเป็นเหตุให้มันเสียรูปทรงอย่างถาวร  เพราะว่าของแข็งบางชนิดมี พลังงานความร้อน (thermal energy) อะตอมของมันจึงมีการสั่นไหว แต่อย่างไรก็ดีการเคลื่อนไหวนี้ก็เกิดขึ้นเล็กน้อยและเร็วมากจนกระทั่งไม่ สามารถสังเกตได้ด้วยวิธีธรรมดา
ถ้าลดอุณหภูมิของเหลวลงจนถึงอุณหภูมิหนึ่งจะกลายเป็นของแข็งได้ จึงทำให้ของแข็งมีสมบัติดังนี้
1. ของแข็งมีลักษณะแกร่ง มีรูปร่างแน่นอนไม่เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ เพราะอนุภาคของแข็ง   อยู่ชิดกันมาก และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงกว่าของเหลว
2. ของแข็งมีปริมาตรค่อนข้างคงที่ โดยปริมาตรของแข็งไม่ขึ้นอยู่กับความดัน แต่เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป ปริมาตรของแข็งจะเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อย เนื่องจากของแข็งไม่ได้รับความร้อนแล้วอาจขยายตัวได้ แต่ก็ขยายตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะอนุภาคของแข็งมีการสั่นสะเทือนมากขึ้น
3. ของแข็งสามารถตกผลึกเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้ แต่บางชนิดอาจตกผลึกแล้วไม่มีรูปผลึกแน่นอน และเรียกของแข็งที่ไม่มีรูปผลึกแน่นอนว่า ของแข็งอสัญฐาน

สมบัติของของแข็ง 
1. ปริมาตรคงที่ไม่ขึ้นอยู่กับขนาดภาชนะที่บรรจุ
2. มีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามรูปร่างของภาชนะ
3. มีอนุภาคอยู่ชิดติดกันอย่างมีระเบียบ
4. สามารถระเหิดได้
โมเลกุลของสารในสถานะของแข็งจะอยู่ชิดกันมาก ของแข็งจึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงกว่าในสถานะของเหลว ทำให้ของแข็งมีรูปร่างและปริมาตรแน่นอน ไม่เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ โมเลกุลของของแข็งเคลื่อนที่ไม่ได้ แต่ก็มีการสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา

กิจกรรมระหว่างเรียน เรื่องที่ 2
สมบัติของของแข็ง

คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาตอนที่.2 สมบัติของของแข็ง แล้วบันทึกสาระสำคัญในประเด็นต่อไปนี้



1) ยกตัวอย่างสมบัติของของแข็ง เป็นข้อ ๆ ดังนี้

(1)......................................................................................................................................

    (2)......................................................................................................................................

    (3)......................................................................................................................................

    (4)......................................................................................................................................

    (5)......................................................................................................................................

 

 

 


การจัดเรียงอนุภาคของของแข็ง

การจัดเรียงอนุภาคของของแข็ง
          ในชีวิตประจำวันเราสามารถพบสารสถานะของแข็งที่มีรูปร่างแตกต่างกัน เช่น น้ำตาล เกลือแกง มีลักษณะเป็นเกล็ดสี่เหลี่ยม สารส้ม โพแทสเซียมไนเตรดหรือดินประสิวมีลักษณะเป็นก้อนมีเหลี่ยมมุม กำมะถันมีลักษณะเป็นผง เพราะเหตุใดสารเหล่านี้จึงมีรูปร่างแตกต่างกัน นักเรียนคิดว่าสารชนิดเดียวกันปรากฏอยู่ในรูปแตกต่างกันได้หรือไม่
          จากการศึกษารูปผลึกของกำมะถันโดยการทดลองทำปฏิกิริยาระหว่างกำมะถันผงกับโทลูอีนแล้วอุ่นในบีกเกอร์น้ำร้อนคนจนกำมะถันละลายหมด จากนั้นลดอุณหภูมิของสารละลายจนมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิ ห้อง โดยที่ขณะที่ลดอุณหภูมิยังคงแช่สารละลายอยู่ในบีกเกอร์ร้อน แล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง จากนั้นเทสารละลายลงในกระจกนาฬิกาแล้วนำไปวางไว้ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดีเพื่อให้โทลูอีนระเหยอย่างรวดเร็ว จากนั้นสังเกตลักษณะของกำมะถันที่เกิดขึ้น พบว่า กำมะถันที่มีลักษณะเป็นผงละลายได้ในโทลูอีน เมื่อนำมาทำเป็นสารละลายอิ่มตัวตั้งไว้ให้ตัวทำละลายระเหยออกไป จะได้ของแข็งในรูปผลึกที่มีลักษณะแตกต่างกัน รูปแรกมีลักษณะเป็นแท่งยาวคลายเข็ม เรียกว่า กำมะถันรูปเข็มหรือกำมะถันมอนอคลินิก และอีกรูปหนึ่งมีลักษณะเป็นเหลี่ยมคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เรียกว่า กำมะถันรอมบิก ดังรูป
                            ก. กำมะถันมอนอคลินิก                              ข. กำมะถันรอมบิก

ผลึกกำมะถัน
          ในธรรมชาติมักจะพบกำมะถันรอมบิกเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากเสถียรที่อุณหภูมิห้อง ส่วนกำมะถันมอนอคลินิกจะเสถียรที่อุณหภูมิสูงกว่า 96 C แต่จากการทดลองสามารถเตรียมกำมะถันได้ทั้ง 2 รูปได้พร้อมกัน เพราะว่ามีการควบคุมสภาวะการตกผลึกให้แตกต่างจากธรรมชาติ อย่างไรก็ตามผลึกทั้ง 2 รูป มีสูตรโมเลกุลเป็น S8 เหมือนกัน กล่าวคือใน 1 โมเลกุลจะประกอบด้วยอะตอมกำมะถัน 8 อะตอม และแต่ละอะตอมยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโควาเลนต์โครงสร้างลิวอิสและแบบจำลองโมเลกุลกำมะถันแสดงดังรูป

โมเลกุลของกำมะถัน

        นอกจากนี้การสังเกตเห็นว่าผลึกกำมะถันมีรูปร่างแตกต่างกัน อธิบายได้ว่าเนื่องจากมีการจัดเรียงตัวของโมเลกุลกำมะถันแตกต่างกัน ดังรูป
แสดงการจัดเรียงตัวของโมเลกุลกำมะถันในผลึกกำมะถันทั้ง 2 รูป
          จากรูปจะสังเกตได้ว่ากำมะถันในผลึกกำมะถันรอมบิกมีการจัดเรียงตัวชิดและอัดแน่นได้มากกว่ากำมะถันมอนอคลินิก ทำให้ผลึกกำมะถันรอมบิกมีความหนาแน่นมากกว่ากำมะถันมอนอคลินิกเล็กน้อย นอกจากธาตุกำมะถันแล้วยังมีธาตุอื่นที่ปรากฏอยู่ได้หลายรูป และในแต่ละรูปมีสมบัติอย่างไร ให้ศึกษาข้อมูลของธาตุตัวอย่างในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 สมบัติบางประการของของแข็งบางชนิดที่อยู่ในรูปต่าง ๆ กัน
ชื่อธาตุ

รูปของของแข็ง
ลักษณะภายนอก
จุดหลอมเหลว
(C)
จุดเดือด
(C)
ความหนาแน่น
(g/cm3)
สภาพนำไฟฟ้า
กำมะถัน
รอมบิก

มอนอคลินิก
ผลึกรูปเหลี่ยมสีเหลือง
ผลึกรูปเข็มสีเหลือง
112.80

119
444.67

444.67
2.07

1.96
ไม่นำ

ไม่นำ
คาร์บอน
แกรไฟต์
เพชร

ฟุลเลอรีน
ผงหรือแผ่นสีดำ
ผลึกรูปเหลี่ยม
ไม่มีสี
ผงสีดำ
3727*
สูงกว่า 3550
~
3642*
4827

~
2.25
3.51

~
นำ
ไม่นำ

ไม่นำ
ฟอสฟอรัส
ฟอสฟอรัสขาว

ก้อนสีขาว

44

280

1.82

ไม่นำ


ฟอสฟอรัสแดง
ฟอสฟอรัสดำ
ผงสีแดง
เกล็ดสีดำ
590**
-
417*
-
2.34
-
ไม่นำ
นำ

*ระเบิด     **หลอมเหลวที่ความดัน 43 บรรยากาศ     -ไม่มีข้อมูล    ~ขึ้นอยู่กับจำนวนคาร์บอนอะตอม
ก.       โครงสร้างของธาตุฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปต่าง ๆ
โครงสร้างของธาตุคาร์บอนและธาตุฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปต่าง ๆ

          จากข้อมูลในตารางที่ 1 และรูปโครงสร้างของธาตุคาร์บอนและธาตุฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปต่าง ๆ แสดงว่าธาตุบางธาตุในสถานะของแข็งมีการจัดเรียงอนุภาคภายในโครงสร้างแตกต่างกัน ทำให้ธาตุเหล่านั้นปรากฏได้หลายรูปและมีสมบัติแตกต่างกัน ซึ่งจากสมบัติแตกต่างกันนี้ทำให้สามารถนำธาตุเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ธาตุคาร์บอนมีอยู่ในรูปของแกรไฟต์ เป็นของแข็งสีดำ ผิวมันวาวเล็กน้อยและลื่น จึงนิยมนำแกรไฟต์มาทำเป็นไส้ดำสอและส่วนผสมของน้ำมันหล่อลื่น ธาตุคาร์บอนมีอยู่ในรูปของเพชรซึ่งมีความแข็งแรงมากจึงนิยมนำมาใช้ทำหัวเจาะหรืออุปกรณ์ตัดวัสดุอื่น ๆ และธาตุคาร์บอนมีอยู่ในรูปของฟุลเลอรีนซึ่งมีโครงสร้างที่แข็งแรงมาก ส่วนใหญ่นำมาใช้ประโยชน์ในทางด้านการแพทย์ ธาตุฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปฟอสฟอรัสขาว นิ่มคล้ายขี้ผึ้ง ว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมีและสามารถลุกไหม้ได้เองเมื่อสัมผัสกับอากาศ จึงใช้ประโยชน์ในการลูกระเบิดหรือระเบิดเพลิง สำหรับฟอสฟอรัสแดงมีโครงสร้างเป็นพอลิเมอร์ เสถียรมากกว่าฟอสฟอรัสขาว จึงใช้ทำไม้ขีดไฟ
กิจกรรมระหว่างเรียน เรื่องที่ 3 การจัดเรียงอนุภาคของของแข็ง
คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาตอนที่ 3 การจัดเรียงอนุภาคของของแข็ง แล้วบันทึกสาระสำคัญในประเด็นต่อไปนี้
1) การจัดเรียงอนุภาคในของแข็งต่างชนิดกันแตกต่างกันหรือไม่ ..............................................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................................. 2) ผลึกของกำมะถันมีกี่ลักษณะ อะไรบ้าง และแต่ละลักษณะมีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร .............................................................................................................................................................................. ..............................................................................................................................................................................

ชนิดของผลึก

ชนิดของผลึก



ของแข็งบริสุทธิ์ที่อยู่ในรูปผลึกมีลักษณะที่สำคัญคือ มีการจัดเรียงอนุภาคภายในอย่างมีระเบียบในสามมิติ แต่ละอนุภาคยึดเหนี่ยวด้วยแรงชนิดต่าง ๆ  มีโครงสร้างทางเรขาคณิตที่แน่นอนดังรูป ของแข็งบริสุทธิ์มีจุดหลอมเหลวที่ชัดเจนและคงที่ นั่นคือเมื่ออุณหภูมิถึงจุดหลอมเหลวสารประเภทนี้จะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวทันที
   
                               

                  แบบจำลองโครงสร้างโซเดียมคลอไรด์ (NaCl)             แบบจำลองโครงสร้างควอตซ์ (SiO2)



ถ้าใช้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคภายในผลึกเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งของแข็งในรูปผลึกได้ 4  ประเภท ดังนี
    1. ผลึกโมเลกุล (Molecular crystal) เป็นผลึกที่เกิดจากโมเลกุลโคเวเลนต์
    2. ผลึกโคเวเลนต์ร่างตาข่าย (Network covalent crystal) เป็นผลึกที่เกิดจากสารประกอบโคเวลนต์แบบ
โครงผลึกร่างตาข่าย
             3. ผลึกโลหะ (Metalic crystal) เป็นผลึกที่เกิดจากพันธะโลหะ
             4. ผลึกไอออนิก (Ionic crystal) เป็นผลึกที่เกิดจากสารประกอบไอออนิก

ตารงที่ 2 ชนิดและคุณสมบัติบางประการของของแข็งที่อยู่ในรูปผลึก


ของแข็งที่เป็นผลึกทั้ง 4 ชนิด มีคุณสมบัติแตกต่างกันดังนี้
ในกรณีกล่าวถึงของแข็งที่มีลักษณะเป็นผลึกเท่านั้น  โดยผลึกประกอบจากการเรียงตัวของอะตอม ไอออน หรือโมเลกุลอย่างเป็นระเบียบสม่ำเสมอในสามมิติ และยึดกันอยู่ด้วยแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคชนิดต่างๆ  ดังนั้นเราอาจจำแนกผลึกออกได้เป็น 4 ชนิด ตามชนิดของอนุภาคองค์ประกอบและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค ดังนี้


1. ผลึกไอออนิก (Ionic crystal) อนุภาคของผลึกประเภทนี้จะเป็นไอออนบวกและไอออนลบเรียงตัวสลับกันไปในลักษณะสามมิติ แข็งแต่เปราะ มีจุดหลอมเหลวแลจุดเดือดสูง ขณะเป็นของแข็งไม่นำไฟฟ้าแต่เมื่อหลอมเหลวหรืออยู่ในรูปสารละลายจะสามารถนำไฟฟ้าได้ ตัวอย่างที่พบบ่อยๆ ได้แก่ สารประกอบออกไซด์ของโลหะหมู่ 1 และหมู่ 2 เกลือเฮไลด์ของโลหะ




ภาพผลึกไอออนิก
ที่มา http://110.164.64.200/ftp/st28266/ionic.html/page14.html

2. ผลึกโมเลกุล (Molecular crystal) อนุภาคของผลึกประเภทนี้อาจเป็นอะตอมหรือโมเลกุล แรงดึงดูดระหว่างอนุภาคอาจเป็นแรงดึงดูดระหว่างขั้วของโมเลกุล หรือเป็นแรงแวนเดอร์วาลส์ ผลึกประเภทนี้ค่อนข้างอ่อนหรือนิ่ม เช่น ผลึกของไอโอดีน ผลึกของหิมะ เป็นต้น




 
ภาพผลึกโมเลกุลของน้ำแข็ง
ที่มา http://www.satriwit3.ac.th/external_newsblog.php?links=1721


3. ผลึกโคเวเลนต์ร่างตาข่าย (Covalent crystal) อนุภาคของผลึกประเภทนี้จะเป็นอะตอม           มีการยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ เช่น เพชร อะตอมองค์ประกอบแต่ละอะตอมจะยึดเหนี่ยวกับอะตอมข้างเคียงสีอะตอมด้วยพันธะโคเวเลนต์ที่แข็งแรง ผลึกประเภทนี้มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดที่สูงมาก มีความดันไอต่ำ และไม่ละลายตัวในสารละลายใดๆ ตัวอย่างที่พบบ่อยๆ คือ เพชร และแกรไฟต์




ภาพผลึกโคเวเลนต์ร่างตาข่ายของเพชร
ที่มา http://www.ponglearning.com/?p=1473
       
4. ผลึกโลหะ (Metallic crystal) อนุภาคของผลึกประเภทนี้จะเป็นไอออนบวกที่อยู่ท่ามกลางเวเลนต์อิเล็กตรอนแต่ละอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระทั่วทั้งก้อนของโลหะผลึกประเภทนี้มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง ดึงให้เป็นแผ่นและตีเป็นเส้นได้ง่าย ตัวอย่าง โลหะโดยทั่วไป เช่น เหล็ก เงิน และทองคำ เป็นต้น





ภาพผลึกโลหะ

ที่มา http://www.satriwit3.ac.th/external_newsblog.php?links=1721



          ในชีวิตประจำวันจะพบเห็นเครื่องมือและของใช้หลายชนิดที่ทำมาจากแก้ว ยาง หรือพลาสติก วัสดุเหล่านี้ล้วนมีสถานะเป็นของแข็งแต่ไม่มีรูปผลึก ของแข็งประเภทที่ไม่มีรูปผลึก เรียกว่า ของแข็งอสัณฐาน จากการศึกษาพบว่าของแข็งประเภทนี้มีการจัดเรียงอนุภาคภายในไม่เป็นระเบียบ เมื่อแตกหักจะได้ชิ้นส่วนที่มีลักษณะไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิต หรือเมื่อได้รับความร้อนปริมาณมากพอจะค่อย ๆ อ่อนตัวกลายเป็นของเหลวและไหลได้ ของแข็งประเภทนี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถหาจุดหลอมเหลวที่แน่นอนได้ 









กิจกรรมระหว่างเรียน เรื่องที่ 4
ชนิดของผลึก

คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาตอนที่ 4 ชนิดของผลึก แล้วบันทึกสาระสำคัญในประเด็นต่อไปนี้




1) จงอธิบายรูปแบบของผลึกไอออนิก พร้อมวาดรูปตัวอย่างผลึก
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
2) จงอธิบายรูปแบบของผลึกโคเวเลนซ์ พร้อมวาดรูปตัวอย่างผลึก
...............................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................

3) อธิบายรูปแบบของผลึกโควาเลนต์ร่างตาข่าย พร้อมวาดรูปตัวอย่างผลึก
..............................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
4) จงอธิบายรูปแบบของผลึกโลหะ พร้อมวาดรูปตัวอย่างผลึก
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
     .    ...............................................................................................................................................................
       5) ของแข็งทุกชนิดมีรูปผลึกหรือไม่ อย่างไร
        ................................................................................................................................................................
        ................................................................................................................................................................
        ..............................................................................................................................................................