วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สมบัติของของแข็ง


ของแข็ง (solid) เป็นสถานะของ สสาร ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่สามารถทนและต้านทานต่อการเสียรูปทรง และการเปลี่ยนแปลงในปริมาตรของตัวมันเอง มีการจัดเรียงตัวของอนุภาคองค์ประกอบใกล้ชิดกัน แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมีค่ามาก อนุภาคของแข็งจึงเคลื่อนที่ไม่ได้ แต่จะสั่นไปมาได้เล็กน้อย เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างโมเลกุลน้อยมาก ของแข็งจึงไหลไม่ได้เหมือนของเหลว และอัดไม่ได้เหมือนแก๊ส ของแข็งส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นผลึก (crystalline) มีการจัดเรียง มีรูปทรงเรขาคณิตที่แน่นอน หลายแบบที่ระดับจุลภาค (microscopic scale) ของแข็งมีคุณสมบัติดังนี้:  อะตอม หรือ โมเลกุล ที่ประกอบกันเป็นของแข็งจะอัดกันแน่น  องค์ประกอบของธาตุเหล่านี้จะมี ตำแหน่ง อยู่กับที่ (space) และยึดเกาะซึ่งกันและกันทำให้ของแข็งมีความแข็ง  ถ้ามีแรงที่พอเพียงมากระทำคุณสมบัติเหล่านี้ของมันจะถูกทำลาย และเป็นเหตุให้มันเสียรูปทรงอย่างถาวร  เพราะว่าของแข็งบางชนิดมี พลังงานความร้อน (thermal energy) อะตอมของมันจึงมีการสั่นไหว แต่อย่างไรก็ดีการเคลื่อนไหวนี้ก็เกิดขึ้นเล็กน้อยและเร็วมากจนกระทั่งไม่ สามารถสังเกตได้ด้วยวิธีธรรมดา
ถ้าลดอุณหภูมิของเหลวลงจนถึงอุณหภูมิหนึ่งจะกลายเป็นของแข็งได้ จึงทำให้ของแข็งมีสมบัติดังนี้
1. ของแข็งมีลักษณะแกร่ง มีรูปร่างแน่นอนไม่เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ เพราะอนุภาคของแข็ง   อยู่ชิดกันมาก และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงกว่าของเหลว
2. ของแข็งมีปริมาตรค่อนข้างคงที่ โดยปริมาตรของแข็งไม่ขึ้นอยู่กับความดัน แต่เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป ปริมาตรของแข็งจะเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อย เนื่องจากของแข็งไม่ได้รับความร้อนแล้วอาจขยายตัวได้ แต่ก็ขยายตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะอนุภาคของแข็งมีการสั่นสะเทือนมากขึ้น
3. ของแข็งสามารถตกผลึกเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้ แต่บางชนิดอาจตกผลึกแล้วไม่มีรูปผลึกแน่นอน และเรียกของแข็งที่ไม่มีรูปผลึกแน่นอนว่า ของแข็งอสัญฐาน

สมบัติของของแข็ง 
1. ปริมาตรคงที่ไม่ขึ้นอยู่กับขนาดภาชนะที่บรรจุ
2. มีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามรูปร่างของภาชนะ
3. มีอนุภาคอยู่ชิดติดกันอย่างมีระเบียบ
4. สามารถระเหิดได้
โมเลกุลของสารในสถานะของแข็งจะอยู่ชิดกันมาก ของแข็งจึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงกว่าในสถานะของเหลว ทำให้ของแข็งมีรูปร่างและปริมาตรแน่นอน ไม่เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ โมเลกุลของของแข็งเคลื่อนที่ไม่ได้ แต่ก็มีการสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา

กิจกรรมระหว่างเรียน เรื่องที่ 2
สมบัติของของแข็ง

คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาตอนที่.2 สมบัติของของแข็ง แล้วบันทึกสาระสำคัญในประเด็นต่อไปนี้



1) ยกตัวอย่างสมบัติของของแข็ง เป็นข้อ ๆ ดังนี้

(1)......................................................................................................................................

    (2)......................................................................................................................................

    (3)......................................................................................................................................

    (4)......................................................................................................................................

    (5)......................................................................................................................................

 

 

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น